แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ กระบวนการผลิต แสดงบทความทั้งหมด

ไม้พาเลท ไม่ใช่ ไม้เพลเลท

     ถ้าพูดถึง ไม้พาเลท (Wood pallet) แล้ว คนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรม ก็จะนึกถึง ไม้พาเลทแบบที่เป็นแผ่น ๆ ประกอบกันเป็นแท่นวางสำหรับขนส่งสินค้า แบบนี้ แต่ในแวดวงอุตสหกรรมยังมีผลิตภัณฑ์อีกอย่างหนึ่งที่ชื่อคล้าย ๆ กัน ที่อาจจะทำให้สื่อสารกันผิดพลาดได้ คือ ไม้เพลเลท (Wood pellet) แล้ว

     ไม้เพลเลท หน้าตาแตกต่างจาก ไม้พาเลท อย่างสิ้นเชิง  จะเหมือนกันก็ที่ทำมาจากเป็นไม้เหมือนกันแค่นั้นเอง

ไม้เพลเลท ไม่ใช่ ไม้พาเลท (ภาพจาก alibaba)

     ไม้เพลเลท ย้ำ! ไม้เพลเลท รูปร่างจะเป็นเม็ด ๆ มีไว้สำหรับเป็นเชื้อเพลิงในการเผาไหม้ เพื่อนำความร้อนจากการเผาไหม้ไปใช้ในอุตสหกรรม เช่น หม้อไอน้ำ สามารถใช้แทน น้ำมัน ถ่านหิน หรือก๊าซธรรมชาติได้   อีกทั้งยังมีการนำมาใช้ในครัวเรือน เช่น เตาผิง

     เห็นขนาดของไม้เพลเลทเป็นเม็ดเล็ก ๆ แบบนี้ อย่าดูถูกเชียวนะ เพราะมันให้พลังงานเทียบเท่ากับ ถ่านหินเลยทีเดียว แถมยังขนส่งง่าย เนื่องจากผ่านการอัดเม็ดมาแล้วทำให้ความหนาแน่นสูง

     ให้ความร้อนสูงกว่าไม้ฟืนเพราะความชื้นของไม้เพลเลทน้อยกว่า หลังจากเผาไหม้แล้วก็เหลือเป็นขี้เถ้าน้อยอีกด้วย

     ไม้เพลเลท นิยมทำมาจาก ขี้เลื่อย หรือ เศษไม้ที่เหลือจากกระบวนการทางอุตสหกรรม  ไม้พาเลทส่วนหนึ่งก็กลายมาเป็นไม้เพลเลทนี่แหละครับ

     จริง ๆ อีกชื่อนึงที่นิยมเรียก ไม้เพลเลท ก็คือ "ขี้เรื่อยอัดเม็ด" เรียกง่ายกว่ากันตั้งเยอะ แล้วก็ไม่สับสนกับไม้พาเลทด้วย


ไม้พาเลทคุณภาพ ไม่ได้ทำกันง่ายๆ

"ตอนสร้างโรงงาน ยอมรับ หวั่นใจมาก เพราะคิดว่าไม้พาเลทเป็นสินค้าทำง่าย โอกาสคู่แข่งเกิดสูง แต่พอลงมือจริง รู้เลยว่าไม่หมูอย่างที่คิด ทุกกระบวนการมีรายละเอียดต้องใส่ใจ มีปัญหาให้ต้องแก้ไข โดยเฉพาะการควบคุมต้นทุน เป็นต้นว่า เศษไม้ถ้าโยนทิ้ง เท่ากับโยนเงินทิ้ง จึงต้องหาวิธีจำหน่ายให้กับผู้รับซื้อนำไปทำฟืน นำไปเผาถ่าน แต่สำคัญคือ ทำอย่างไรจึงจะลดการเกิดของเสียให้ได้มากที่สุด นี่คือหัวใจของการทำงาน"

"ผมเลือกทำไม้พาเลทให้กับธุรกิจส่งสินค้าไปขายต่างประเทศ ค่อนข้างมีข้อจำกัดหลายอย่าง ทั้งเรื่องชิ้นงานเรียบร้อย ค่อนข้างจุกจิกกับการเก็บรายละเอียด เช่น ลบมุม สโลปแผ่นไม้ โป๊กาวรอยแตก รอยตะปู ทุกอย่างสำคัญหมด"

คุณประกิจ มัติโก  เจ้าของบริษัท กิจวสันต์ จำกัด

      ประโยคจากหนึ่งในผู้ที่อยู่ในแวดวงธุรกิจไม้พาเลททำให้เราอยากรู้ว่า กระบวนการทำไม้พาเลทนั้น มีขั้นตอนอย่างไร จะซับซ้อน ละเอียด หรือยุ่งยากแค่ไหน

ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่าวัสดุที่ต้องใช้มีอะไรบ้าง
 - ไม้     ส่วนใหญ่จะใช้ ไม้ยางพารา, ไม้เบญจพรรณ
 - น้ำยาสำหรับอัดรักษาเนื้อไม้
 - น้ำยาสำหรับตรวจสภาพไม้

ทีนี้ก็มาถึงขั้นตอนการผลิต

 - อัดน้ำยาสำหรับรักษาเนื้อไม้     โดยใช้ถังอัดระบบสูญญากาศ เพื่อให้น้ำยาเข้าไปอยู่ในทุกส่วนของเนื้อไม้

 - อบแห้ง     อบแห้งด้วยระบบไอน้ำอย่างน้อย 168 ชั่วโมง (หรือก็คือ 7 วัน 7 คืน นั่นเอง)  เพื่อให้ความชื้นของไม้พาเลทตรงตามที่ต้องการ

 - ตรวจสอบสภาพไม้พาเลท      ใช้เครื่องวัดความชื้นโดยความชื้นของไม้จะต้องอยู่ระหว่าง 15-20% และใช้น้ำยาสำหรับตรวจสภาพไม้เพื่อให้รู้ว่าอัดน้ำยารักษาเนื้อไม้เพียงพอหรือไม่

 - ตัดและไสไม้     ให้ได้ความหนา ความยาว ตามที่ต้องการ

 - ซอยและขึ้นรูปไม้     ทำไม้ให้ได้ความกว้างที่ต้องการ หากต้องการขาที่เป็นแบบเว้าก็ทำการเว้าขา

 - ขัด     ทำไม้ให้เรียบ และขัดมุมต่าง ๆ

 - ประกอบไม้พาเลท     ประกอบตามแบบที่ลูกค้าต้องการ การตอกตะปูต้องตอกจนหัวตะปูสนิทกับเนื้อไม้ มิฉะนั้นหัวตะปูอาจจะไปเกี่ยวสินค้าชำรุดเสียหายได้ นี่คือความละเอียดที่ไม่ควรมองข้าม

 - ตรวจสอบ(QC)     วัดขนาด ความกว้าง ความยาว ความสูงว่าเป็นไปตามแบบ

 - อบไม้พาเลท     ตามมาตรฐาน ISPM No.15 จะต้องมีการอบไม้พาเลท เพื่อกำจัดปัญหาแมลงต่าง ๆ ในไม้ โดยจะใช้อุณหภูมิ 56 องศาเซลเซียสขึ้นไป นานอย่างน้อย 30 นาที

     เพียงเท่านี้เราก็จะได้ไม้พาเลทคุณภาพ ที่พร้อมจะนำมาใช้ในอุตสาหกรรม เพื่อขายหรือส่งออกแล้วครับ

การขนส่งไม้พาเลท